“ประกันสังคม ลูกจ้างลาออก” หากนายจ้างไม่ทำ จะมีโทษ
หากท่านเป็นหนึ่งในนายจ้างหรือผู้ว่าจ้าง และมีเหตุที่ลูกจ้างลาออก ถ้าไม่รีบดำเนินการทำตามขั้นตอนที่กำหนด จะมีโทษ ดังนั้น เมื่อลูกจ้างลาออก สิ่งที่นายจ้างต้องทำมีอะไรบ้าง
เมื่อพนักงาน หรือ ลูกจ้าง ซึ่งเป็น “ผู้ประกันตนมาตรา 33” เข้า – ออก หรือแจ้งเปลี่ยนแปลงข้อเท็จจริงของ ผู้ประกันตน เช่น มีการเปลี่ยนแปลง ชื่อ – นามสกุล ต้องรีบแจ้งสำนักงานประกันสังคม
ทั้งนี้ เมื่อ ลูกจ้างลาออก ในแต่ละกรณี ต้องกรอกเอกสารอะไรบ้าง และต้องแจ้งภายในกี่วัน แล้วหากนายจ้าง ไม่ดำเนินการ หรือหลีกเลี่ยง ถือว่ามีความผิดหรือไม่ มีข้อสรุปรายละเอียดดังนี้
ประกันสังคม ลูกจ้างเข้า
1 ลงทะเบียนพนักงาน
– กรอกแบบขึ้นทะเบียนผู้ประกันตน สปส.1-03
– พร้อมเลือกสถานพยาบาลในโครงการ
– ต้องแจ้งภายใน 30 วัน
2 ประกันสังคม ลูกจ้างลาออก
– แจ้งสิ้นสุดการเป็น ผู้ประกันตน กรอกแบบ สปส.6-09
– ต้องแจ้งภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป
3 การแจ้งเปลี่ยนแปลงข้อเท็จจริงของผู้ประกันตน
– กรอกแบบ สปส.6-10
– ต้องแจ้งภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดจากเดือนที่มีการเปลี่ยนแปลง
4 แจ้งเปลี่ยนสถานพยาบาลประจำปี
– กรณีลูกจ้างต้องการเปลี่ยนสถานพยาบาล กรอกแบบเลือกสถานพยาบาล ในการรับบริการทางการแพทย์ สปส.902
– แจ้งเปลี่ยนได้ภายในวันที่ 1 ม.ค.-31 มี.ค. ของทุกปี
นายจ้างสามารถยื่นเรื่องประกันสังคมได้ที่
– ระบบ e-Service บนเว็บไซต์ www.sso.go.th
– สำนักงานประกันสังตมกรุงเทพมหานครพื้นที่/จังหวัด/สาขาทั่วประเทศ
**ทั้งนี้ เมื่อนายจ้างมีลูกจ้างในสถานประกอบการ ตั้งแต่ 1 คนขึ้นไป ต้องแจ้งขึ้นทะเบียน หรือแจ้งสิ้นสุดผู้ประกันตน
นายจ้างไม่แจ้งประกันสังคมมีความผิดหรือไม่
หากพบว่านายจ้างหลีกเลี่ยง จะดำเนินการตามขั้นตอนของกฎหมาย มีโทษจำคุก 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ดังนั้น เรื่องของประกันสังคม ที่มีต่อลูกจ้าง จึงไม่ใช่เรื่องที่จะมองข้ามหรือปล่อยปะละเลย ผู้ประกอบการ นายจ้าง หรือผู้ที่รับผิดชอบ ต้องทำให้ถูกต้อง และคอยดำเนินการได้อย่างทันท่วงที ให้เป็นปัจจุบัน เพื่อสะดวกต่อการตรวจสอบ และดำเนินการต่างๆ ของทางหน่วยงานประกันสังคม และหน่วยงานที่รับผิดชอบ ที่สำคัญ ตัวนายจ้างจะได้ไม่ต้องมีความผิด โทษฐานไม่แจ้งดำเนินการให้เป็นปัจจุบัน ตามข้อเท็จจริงที่มีอยู่นั่นเอง
ขอขอบคุณที่มา komchadluek
รูปภาพ mgronline, thairath